วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

เฉลย

1. กรณีในข้อใดต่อไปนี้ไม่เกิดงานในความหมายทางฟิสิกส์
1) ยกของจากพื้นขึ้นไปไว้บนโต๊ะ
2) เดินจากชั้นล่างขึ้นบน
3) กรรมกรเดินแบกกระสอบข้าวสารไปตามถนนราบ
4) เข็นรถให้เคลื่อนที่
2. ด.ช.จุกหนัก 30 กก. ให้ ด.ช.แกละหนัก 20 กก. ขี้คอเดินจากบ้านไปโรงเรียนเป็นระยะทาง 100 เมตร จงหางานที่ ด.ช.จุกทำได้กี่จูล
1) 0                                  2) 50                      3) 500                     4) 5,000
3. ออกแรง F ในแนวขนานกับพื้น กระทำบนวัตถุหนัก 20 นิวตัน ให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เป็นระยะทาง 10 เมตร บนพื้นระดับ ซึ่งมีแรงเสียดทาน 4 นิวตัน จงหางานของแรง F
วิธีทำ   จาก     ∑F = 0
                          F = f
                          F = 4 N
            จาก     W = Fcosθ      (θ = 0°)
                            = 4 x 10 x 1
                            = 40 J
1) 0 จูล                    2) 40 จูล                  3) 120 จูล                 4) 200 จูล
4. กล่องมวล 40 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้น ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน 0.2 จงหางานของแรงที่ดึงกล่องในแนวทำมุม 37˚ กับแนวระดับ เพื่อให้กล่องนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เป็นระยะทาง 10 เมตร
วิธีทำ   จาก     F = 0
                Fcos37˚ = f
                           f  = µN
            จาก     Fcos37˚ = µN
                          F(4/5) = 0.2(mg-Fsin37˚)
                           4F/5   = 0.2(400-3F/5)
                                  F = 400/4.6 N
          จาก     W = Fcosθ      (θ = 37˚)
                          = 400/4.6 x 10 x 4/5
                                                                                = 695.65 J
1) 392.5 จูล                        2) 400.0 จูล              3) 540.2 จูล              4) 695.6 จูล
5. จากข้อ 4 งานทั้งหมดที่ทำให้กล่องเคลื่อนที่มีค่าเท่าไหร่
1) 0                                  2) 800                     3) 1,080                  4) 1,400
6. แรง 20 นิวตัน กระทำต่อวัตถุมวล 2 กก. ที่อยู่นิ่งให้เคลื่อนที่บนพื้นลื่น จงหางานที่เกิดขึ้นในเวลา 4 วินาที ในหน่วยจูล
วิธีทำ   ต้องการหา W ต้องหา S ก่อน
          จาก     F = ma
                    20 = 2a
                      a = 10 m/s2
          จาก     s = ut+1/2at2
                        = 0+1/2 x 10 x 42
                        = 80 m
          หา W   จาก     W = Fscosθ
                                       = 20 x 80 x 1
                                       = 1600 J
1) 40 จูล                            2) 160 จูล                 3) 400 จูล                 4) 1,600 จูล
7. จงหางานในการลากวัตถุมวล 80 กิโลกรัม ในแนวขนานกันพื้นระดับด้วยอัตราเร็วคงที่เป็นระยะทาง 25 เมตร ถ้าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน ระหว่างวัตถุกันพื้นมีค่า 0.05
วิธีทำ   จาก     F = ma
                          F = f
                          F = 0.05 x 800
          หา W จาก     W = Fscosθ
                                     = 40 x 25 x 1
                                     = 1,000 J



1) 0                                  2) 200 จูล                3) 400 จูล                4) 1,000 จูล
8. ปรีดาซ้อมขี่จักรยานขึ้นไปตามถนนราบเอียง ทำมุม 15˚ กับแนวระดับ ด้วยความเร็ว 36 กิโลเมตร/ชั่วโมงปรีดาและจักรยานมีมวลรวม 8 กิโลกรัม จงหากำลังของปรีดาที่ใช้ขี่จักรยาน ( sin15˚ = 0.26, cos15˚ = 0.97)
วิธีทำ   จาก    ∑F = 0
                         F = mgsin15˚
                            = 800 x 0.26
                            = 208 N
          หา P จาก P = FV        ( V = 36 km/hr = 10 m/s )
                             = 208 x 10
                             = 2,080 W
1) 1,250 วัตต์             2) 2,080 วัตต์            3) 4,600 วัตต์            4) 1,000 วัตต์
9. ในการยกกล่องมวล 100 กิโลกรัม จากพื้น โดยใช้กำลัง 1 กิโลวัตต์ เป็นเวลา 10 วินาที กล่องนั้นจะขึ้นไปได้สูงจากพื้นกี่เมตร
วิธีทำ   จาก     P = W/t
              1 x 103 = (F x h) / 10
                    104 = F x h
               10,000 = mgh
               10,000 = 100 x 10 x h
                        h = 10 m
1) 0.1                      2) 1.0                      3) 10.0                    4) 20.0
10. ปั้นจั่นเครื่องหนึ่งยกหีบสินค้ามวล 1.5 × 105 กิโลกรัม ขึ้นจากท่าเรือเพื่อวางบนดาดฟ้าเรือ ซึ่งสูงจากพื้นท่าเรือ 15 เมตร จงหางานในการยกสินค้าของปั้นจั่นในหน่วยจูล
วิธีทำ   จาก W = F x h
                 W = mgh
                   = 1.5 x 105 x 10 x 15
                   = 22.5 x 106
                   = 2.25 x 107 J
1) 0                        2) 1.5 x 106              3) 2.25 x 106             4) 2.25 x 107
11. จากข้อ 10 ถ้าเวลาที่ใช้ในการยกสินค้าเท่ากับ 1 นาที 15 วินาที กำลังของปั้นจั่นขณะยกสินค้าเป็นเท่าใด ในหน่วยกิโลวัตต์
วิธีทำ   จาก P = W/t
                       = (2.25 x 107) / 75
                       = 0.03 x 107
                       = 3 x 105 วัตต์
                       = 3 x 102 กิโลวัตต์
1) 1.98 x 102             2) 3 x 102                 3) 1.68 x 104             4) 3 x 105
12. สมศรีเดินหิ้วกระเป๋ามวล 4 กก. ขึ้นตึกไปยังชั้น 5 ภายในเวลา 50 วินาที ถ้าตึกมีความสูงเฉลี่ย ชั้นละ 5 เมตร จงหากำลังที่สมศรีใช้ในการหิ้วกระเป๋าเป็นกี่วัตต์
วิธีทำ   จาก W = mgh
                        = 4 x 10 x 20
                        = 800
          จาก P = W/t
                     = 800 / 50
                     = 16 วัตต์
1) 12                       2) 14                      3) 16                      4) 18
13. ด.ญ.เข็มมีมวล 80 กก. ไต่บันไดลิงด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ 2 เมตร/วินาที จงหากำลังที่ ด.ญ.เข็ม ใช้ในหน่วยกิโลวัตต์
วิธีทำ   จาก P = W/t
                       = (F x s) / t
                       = FV
          จาก P = FV
                     = mgV
                     = 80 x 10 x 2
                     = 1,600 วัตต์
                     = 1.6 กิโลวัตต์
1) 0                                  2) 0.4                     3) 0.8                     4) 1.6
14. คริสติน่า หนัก 480 นิวตัน วิ่งขึ้นเวที ซึ่งสูง 5 เมตร ในเวลา 10 วินาที จงหาว่าคริสติน่าต้องใช้กำลังเท่าไร
วิธีทำ   จาก P = W/t
                       = (mgh) / t
                       = (480 x 5) / 10
                       = 240 วัตต์
1) 120 วัตต์                         2) 240 วัตต์               3) 360 วัตต์               4) 480 วัตต์
15. จากราฟดังรูป แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำต่อวัตถุกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ตามแนวแรงงานที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ทาง 10 เมตรเป็นเท่าไร
วิธีทำ   จาก W = F x sตามแนวระดับ
    พท.ใต้กราฟของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู = F x s
                                                             = ½ x ผลบวกของด้านคู่ขนาน x สูง
                                                             = ½ x (2+10) x 15
                                                             = 90 J
1) 30 จูล                        2) 60 จูล                  3) 90 จูล                  4) 120 จูล
16. แรงกระทำต่อวัตถุหนึ่ง เมื่อนำค่าแรงที่กระทำต่อวัตถุในแนวขนานกับการเคลื่อนที่ มาเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการกระจัด ได้ดังรูป จงหางานที่เกิดขึ้น เมื่อการกระจัดเป็น 40 เมตร
วิธีทำ   จาก พท.ใต้กราฟของรูปสามเหลี่ยม = ½ x ฐาน x สูง
                                                                     = ½ x 30 x 30
                                                                     = 450 J              => (1)
          จาก พท.ใต้กราฟของรูปสามเหลี่ยม = ½ x ฐาน x สูง
                                                                   = ½ x (-10) x 10
                                                                   = -50 J                 => (2)
          (1) + (2) = 450 – 50
                        = 400 J
1) 300 จูล                          2) 400 จูล                 3) 500 จูล                 4) 600 จูล
17. ออกแรง F = 20 นิวตัน กระทำต่อวัตถุหนึ่งให้เคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่จากความเร็ว 2 เมตร/วินาที เป็น 8 เมตร/วินาที จงหากำลังเฉลี่ยของแรง F
วิธีทำ   จาก P = FV
                       = 20 x [(u+v)/2}
                       = 20 x [(2+8)/2}
                       = 100 W
1) 40 วัตต์                          2) 60 วัตต์                3) 80 วัตต์                4) 100 วัตต์
18. วัตถุก้อนหนึ่งวางอยู่นิ่งๆ บนพื้นราบลื่น ถ้าออกแรง 20 นิวตัน กระทำในแนวระดับทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ 5 เมตร วัตถุนั้นจะมีพลังงานจลน์เท่าใดในหน่วยจูล
วิธีทำ   จาก W = F x s
                        = 20 x 5
                        = 100 J
1) 10                       2) 20                      3) 100                     4) 120
19. วัตถุมวล 10 กิโลกรัมวางอยู่บนพื้น ซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน 0.2 เมื่อออกแรงดันวัตถุในแนวขนานกับพื้นขนาด 40 นิวตัน เป็นระยะทาง 10 เมตร วัตถุจะมีอัตราเร็วเท่าไร (ในหน่วยเมตร/วินาที)
วิธีทำ   จาก WA = WB 
                 F × S = Wf + Ek
                 F × S = (f × s) + (½ x m x V2)
                 F × S = (µmg × s) + ( ½ x m x V2)
                                                                   40 × 10 = (0.2 × 10 × 10 × 10) + (1/2 × 10 × V2)
                                                                         400 = 200 + 5V2
                                                               400 – 200 = 5V2
                                                                           40 =  V2
                                                                            V = 6.32 m/s
1) 6.32                          2) 8.92                             3) 16.40                   4) 20.00
20. ยิงลูกปืนมวล 10 กรัม เข้าไปในเนื้อไม้ด้วยอัตราเร็ว 300 เมตร/วินาที ลูกปืนหยุดนิ่งหลังจากที่เข้าไปในเนื้อไม้เป็นระยะ 5 เซนติเมตร จงหาแรงเฉลี่ยที่ลูกปืนกระทำต่อแท่งไม้ในหน่วยนิวตัน
วิธีทำ   จาก Ek = Ws
( ½ x m x u2) - ( ½ x m x v2) = f x s
          -1/2 x 10/1,000 x 3002 = f x (5/100)
                                    -9,000 = f
                                            f  = -9 x 103 N
1) 1.5 x 103                    2) 9 x 103                 3) 1.5 x 104               4) 9 x 104
21. วัตถุหนึ่งเมื่อเพิ่มอัตราเร็วให้เป็น 2 เท่า ของอัตราเร็วเดิมจะมีพลังงานจลน์กี่เท่าของเดิม
วิธีทำ   จาก Ek1/Ek2 = (½mv12) / (½mv22 )
                   Ek1/Ek2 = [v1/v2]2
                   Ek1/Ek2 = [v/2v]2
                   Ek1/Ek2 = 1/4
                        2Ek1 = Ek2
1) 1                                  2) 2                        3) 3                        4) 4
22. วัตถุมวล m มีอัตราเร็ว v มีพลังงานจลน์ E ถ้าวัตถุมวล 2m มีอัตราเร็ว V/s จะมีพลังงานจลน์เท่าใด
วิธีทำ   จาก Ek1/Ek2 = (½mv12) / (½mv22 )
                   Ek1/Ek2 = m(2v2)/2m(v2)
                   Ek1/Ek2 = 4mv2/2mv2
                   Ek1/Ek2 = 2
                          Ek1 = 2Ek2
                          Ek2 = Ek1 / 2
1) E/4                            2) E/2                     3) E                        4) 2E
23. รถยนต์คันหนึ่งมวล 1,000 กิโลกรัม กำลังแล่นด้วย อัตราเร็ว 108 กิโลเมตร/ชั่วโมง พอดีเห็นรถชนกัน อยู่ข้างหน้าจึงเยียบเบรก ทำให้อัตราเร็วลดลงเหลือ 18 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในระยะทาง 50 เมตร จะหางานเนื่องจากแรงต้านจากพื้นถนนเป็นกี่กิโลจูล
วิธีทำ   จาก ∆Ek = Ekก่อน - Ekหลัง
                      Wf = ½mu2
                           = ½m(u2–v2)
                          = ½m(u+v)(u-v)
                          = ½ (1,000)(30+5)(30-5)
                          = 500 x 35 x 25
                                                                                = 12,500 x 35
                                                                                = 437,500 J
                                                                                = 437.5 KJ
                                                                                = fทิศทางตรงกันข้ามติดลบ  = -437.5 KJ
1) -437.5                       2) 437.5                   3) -5,670                 4) 5.670
24. จากข้อ 23 จงหาค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานระหว่างยางรถยนต์กับพื้นถนน
วิธีทำ   จาก Wf = Fxs
               (-Wf) = µmg × s
     -(-437,500) = µ(1000 x 10) × 50
          437,500 = µ(10000 × 50)
          437,500 = 50000µ
                    µ = 437,500/500,000
                    µ = 0.875  
1) 0.52                          2) 0.65                    3) 0.76                    4) 0.88
25. วัตถุมวล 2 กิโลกรัม เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง บนพื้นระดับลื่น ด้วยแรงที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกราฟ จงหางานที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่จากจุดเริมต้น จนได้ทาง 20 เมตร
วิธีทำ   จากกราฟ F,S สามารถหาค่า W
            จาก W = พท.ใต้กราฟ
                        = (½ × (10+15) × 20) + (-½ × 5 × 20)
                        = 250 - 50
                   ∴W = 200 J
1) 100 จูล                       2) 200 จูล                 3) 300 จูล                 4) 400 จูล
26. จากข้อ 25 ถ้าวัตถุมีอัตราเร็วขณะผ่านจุดเริ่มต้น 2 เมตร/วินาที ขณะเคลื่อนที่ได้ทาง 30 เมตร อัตราเร็วของวัตถุเป็นกี่เมตร/วินาที
วิธีทำ   W หาจาก พท.ใต้กราฟสามารถหา v ได้
                   จาก ∆Ek = W
          ½mv2- ½mu2  = พท.ใต้กราฟ
½ × 2 × v2- ½ 2 × 22 = (½ × (10+15) × 20)+(-½ × 15 × 20) 
                       V2 - 4 = 250-150
                             v2 = 100+4
                             v2 = 104
                               v =10.2 m/s
1) 6.3                           2) 8.6                     3) 10.2                    4) 12.4
27. วัตถุมวล 5 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นราบลื่นถูกแรง 20 นิวตัน กระทำในแนวขนานกับพื้นเป็นระยะทาง 10 เมตรแล้วเพิ่มแรงทันทีทันใดเป็น 25 นิวตัน ให้เคลื่อนที่ต่อไปอีก ในแนวเดิมเป็นระยะทาง 20 เมตร จงหาพลังงานจลน์ของวัตถุ เมื่อเคลื่อนที่ได้ทั้งหมดเป็นระยะทาง 30 เมตร
วิธีทำ   จาก ∑EK = WAB + WBC
                      EK = F1SAB + F2SBC
                      EK = (20×10) + (25×20)
                      EK = 200 + 500
                      ∴EK = 700J

1) 350                           2) 700                     3) 1,050                   4) 1,400
28. จากข้อ 27 จงหาอัตราเร็วของวัตถุเมื่อสิ้นสุดทาง 30 เมตร
วิธีทำ   จาก EK = ½mv2 - ½mu2
                  700 = ½(5) × v2
             1400/5 = v2
                  280 = v2
                     ∴ v = 16.7 m⁄s
1) 6.4 เมตร/วินาที              2) 8.6 เมตร/วินาที       3) 12.2 เมตร/วินาที      4) 16.7 เมตร/วินาที
29. วัตถุมวล 1 กิโลกรัม ตกจากที่สูง 5 เมตร ลงบนพื้นดิน ถ้าดินมีแรงต้านทานเฉลี่ยกระทำต่อ
วัตถุ 510 นิวตัน วัตถุจะจมลงในดินลึกกี่เซนติเมตร
วิธีทำ   จาก Ep = Wf                                         
            mghAC = f × SBC                           
 1 × 10 × (5+x) =  510x
            50+10x = 510x
                    50 = 500x 
                      x = 10
1) 1                               2) 5                        3) 10                      4) 20




30. ถังน้ำ 200 ลิตร สูง 1.2 เมตร มีน้ำอยู่เต็ม ต้องการตักน้ำออกจากถังเทลงพื้นต้องทำงานกี่จูล (ความหนาแน่นของน้ำ 1,000 กก./ลบ.ม.)
วิธีทำ   การตักน้ำ การหาการกระจัด ต้องพิจารณาที่จุดศูนย์กลาง                             
            มวลของน้ำในถัง จาก m = pV = 1000 × 200 × 10-3
                                                            = 200 kg.
            จาก W = Ep
                        = mgh
                        = 200 × 10 × 0.6
                   W = 1200 จูล
1) 600                          2) 1,200                   3) 1,800                   4) 2,400
31. วัตถุมวล 5 และ 10 กิโลกรัม ตกอย่างอิสระจากที่สูง 10 และ 5 เมตร ตามลำดับ จงเลือกข้อความที่ถูกต้อง
1) วัตถุทั้งสองจะตกถึงพื้นพร้อมกัน
2) วัตถุทั้งสองมีความเร็วสุดท้ายเท่ากัน
3) วัตถุทั้งสองมีพลังงานจลน์และพลังงานศักย์เท่ากันที่ระดับความสูงเดียวกัน
4) วัตถุทั้งสองมีความเร่งเท่ากัน
32. นายฟักทิ้งขวดมวล 0.5 กิโลกรัม จากหลังคาบ้านครูใหญ่ ซึ่งสูง 12 เมตร ให้ตกอย่างอิสระ ถ้าขวดเหล้าตกลงมาได้ทาง 1/3 ของทางทั้งหมด จะมีพลังงานจลน์เท่าใด
วิธีทำ   จาก Ea = mgha = 0.5 × 10 × 12 = 60 J
            จาก Eb = mghb = 0.5 × 10 × 8 = 40 J
            จาก E = 60-40
                    ∴E = 20 J
1) 10 จูล                        2) 20 จูล                  3) 30 จูล                  4) 40 จูล
33. ปั้นจั่นเครื่องหนึ่งสามารถฉุดลูกตุ้มเหล็กมวล 1,000 กิโลกรัม ขึ้นจากพื้นสูง 10 เมตร และขณะนั้นลูกตุ้มมีอัตราเร็ว 2 เมตร/วินาที จงหางานที่ปั้นจั่นทำได้ในหน่วยกิโลจูล
วิธีทำ                                      จาก WA = WB
                                                 Ep + Ek = WB
                                         mgh + ½mv2 = WB
    (1,000 x 10 x 10) + (½ x 1,000 x 22) = WB
                                                        WB = 102,000 J
                                                              = 102 kJ
1) 72                            2) 84                      3) 96                      4) 102




34. วัตถุ 2 กิโลกรัมตกจากที่สูง 10 เมตร ระหว่างทางมีแรงต้านทานอากาศหระทำต่อวัตถุ ดังกราฟที่แสดง จงหาอัตราเร็วของวัตถุขณะกระทบพื้นกี่เมตร/วินาที
วิธีทำ   จาก Ep = Ek + Wf
                mgh = ½mv2 + พท.ใต้กราฟของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
     2 x 10 x 10 = (½ x 2 x v2) + (½ x (5+10) x 10)
                 200 = v2+75
                   v2 = 125
                     v = 11.2 m/s
1) 0                              2) 10.0                    3) 11.2                    4) 12.5
35. ออกแรง F ดึงมวล 40 กิโลกรัม ในแนวขนานกับพื้นเอียง ให้เคลื่อนที่ขึ้นไปตามพื้นเอียงลื่น ซึ่งยาว 2.5 เมตร สูง 1.5 เมตร จงหางานของแรง F มีค่ากี่จูล
วิธีทำ   จาก Wf = Fs
            จาก F = mgsinθ
            จาก Wf = mgsinθ x s
                         = 40 x 10 x (1.5/2.5) x 2.5
                         = 600 J
1) 150                           2) 300                    3) 450                    4) 600
36. สมชายยืนอยู่บนหอคอยสูง 60 เมตร แล้วขว้างลูกหินออกไปด้วยอัตราเร็ว 20 เมตร/วินาที จงหาอัตราเร็วของลูกหินขณะกระทบพื้นเป็นกี่เมตร/วินาที
วิธีทำ              จาก WA = WB
                    EpA + EkA = EkB
           mghA + ½mvA2 = ½mvB2
                     2gh + vA2 = vB2
    (2 x 10 x 60) + (20)2 = vB2
                    1,200+400 = vB2
                            1,600 = vB2
                                                                                       vB = 40 m/s
1) 10                             2) 20                      3) 30                      4) 40
37. หินก้อนหนึ่งมวล 50 กิโลกรัม กลิ้งลงมาตามเนินเอียงยาว 200 เมตร สูง 40 เมตร ถ้าแรงเสียดทานระหว่างก้อนหินและเนินเอียงเฉลี่ย 50 นิวตัน จงหาอัตราเร็วของก้อนหินเมื่อถึงปลายล่างสุดของเนินเอียง (หน่วย เมตร/วินาที)
วิธีทำ              จาก WA = WB
                           Ep-Wf = Ek
           (mghAC) – (f×s) = ½mv2
 (50×10×40) – (50×10) = ½ × 50vB2
           20,000 – 10,000 = 25vB2
                    10,000/25 = vB2
                         20 m/s = vB
1) 5                              2) 10                      3) 15                      4) 20
38. จากรูปเชือกและรอกเบา มีแรง 50 นิวตัน ดึงปลายเชือกเพื่อให้มวล 10 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปตามพื้นเอียงซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานจลน์เป็น 0.5 จงหาความเร็วของมวลนี้เมื่อเคลื่อนที่ตามพื้นเอียงได้ 2 เมตร
วิธีทำ                                  จาก ∑F = ma                                       200N – mgsin53 – f = ma      
        200 – mgsin53 – (µmgcos53) = ma     
     200-(100×4/5) – (0.5×100×3/5) = 10a
                                 200 – 80 – 30 = 10a
                                                  90 = 10a
                                                    a = 9 m/s2
          จาก v2 = u2+ 2as
                                                                                                     v2 = 0 + 2(9)(2)
                                                                                                       v = 6 m/s
1) 4 เมตร/วินาที                2) 6 เมตร/วินาที         3) 8 เมตร/วินาที         4) 10 เมตร/วินาที
โจทย์ต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 39-41

          จากรูป ถ้ารถมีความเร็ว 2 เมตร/วินาที เข้าชนสปริงซึ่งมีค่านิจ 400 นิวตัน/เมตร และระหว่างล้อรถกับพื้นไม่มีความฝืดเลย และรถมีมวล 4 กิโลกรัม
39. เมื่อรถชนสปริง สปริงจะหดสั้นที่สุดเท่าไร
วิธีทำ   จาก Ek = Ep
              ½mv2 = ½ks2
                    s2  = mv2/k
                     s2 = 4x(2)2/400
                        s = 0.2 m
                      ∴s = 20 cm
1) 2 ซม.                         2) 4 ซม.                  3) 10 ซม.                 4) 20 ซม.
40. สปริงออกแรงกระทำต่อรถมากที่สุดเท่าใด ในหน่วยนิวตัน
วิธีทำ   จาก F = ks
                      = 400 x 0.2
                      = 80 N
1) 20                            2) 40                      3) 80                      4) 160
41. ขณะที่สปริงหดเป็นครึ่งหนึ่งของระยะหดสั้นที่สุด รถจะมีความเร็วเท่าใด (ตอบทศนิยม 1 ตำแหน่ง)
วิธีทำ   จาก EkA = EkB + EpB
              ½mvA2 = ½mvB2 + ½ks2
                  4(2)2 = 4vB2 + 400(0.1)2
                      16 = 4vB2 + 4
                      ∴vB = 3
                           ≈ 1.732 m/s
1) 0.5 เมตร/วินาที             2) 1.0 เมตร/วินาที        3) 1.4 เมตร/วินาที        4) 1.7 เมตร/วินาที
42. วัตถุมวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่บนพื้นราบ ซึ่งมีแรงเสียดทาน 6 นิวตัน เข้าชนสปริงด้วยความเร็ว 4 เมตร/วินาที สปริงจะหดเข้าไปมากที่สุดเท่าไร ถ้าสปริงมีค่านิจ 40 นิวตัน/เมตร
วิธีทำ   จาก Ek = Ep + Wf
              ½mv2 = ½ks2 + fs
    ½ × 1 × (4)2 = ½ × 40 ×s2 + 6s
   20s2 + 6s – 8 = 0    
                                                          10s2+ 3s – 4 = 0
                                                      (2s - 1)(5s + 4) = 0        
                                                                           S = 0.5  m
1) 0.1 เมตร                     2) 0.3 เมตร               3) 0.5 เมตร               4) 0.7 เมตร
43. จงหางานในการดึงกล่องมวล 50 กิโลกรัมในแนวขนานกันพื้นเอียงทำมุม 30˚ กับแนวระดับไปยังจุดซึ่งอยู่สูงจากพื้นราบ 3 เมตร ถ้าแรงเสียดทานระหว่างกล่องกับพื้นเอียง เท่ากับ 10 นิวตัน
วิธีทำ   จาก Wสูง = Ep + Ek
                           = mgh + (F x s)
                           = (50 x 10 x 3) + (10 x 6)
                           = 1,500 + 60
                           = 1,560 J



1) 950 จูล                      2) 1,100 จูล               3) 1,320 จูล              4) 1,560 จูล
44. กล่องในหนึ่งไถลลงมาจากพื้นเอียงสูง 5 เมตร ยาว 13 เมตร แล้วไถลต่อไปตามพื้นราบอีก 8 เมตร จึงหยุด ถ้าสัมประสิทธิของความเสียดทานระหว่างวัตถุกับพื้นเอียง และวัตถุกับพื้นราบมีค่าเท่ากัน จะเป็นเท่าไร
วิธีทำ   จาก WA = WfAB + WfBC
                   mgh = (fABSAB) + (fBCSBC)
                   mgh = (µmgcosθS) + (µmgS)
                        5 = (µ x 12/13 x 13) + (µ x S)
                        5 = 12µ + 8µ
                        5 = 20µ
                       µ = 0.25
1) 0.25                          2) 0.40                    3) 0.50                    4) 0.75
45. จากรูปวัตถุ มวล 1 กิโลกรัม เริ่มเคลื่อนที่จากตำแหน่ง A มาหยุดที่ตำแหน่ง D ถ้าพื้นทางโค้งไม่มีแรงเสียดทานเลย จงหาแรงต้านเฉลี่ยบริเวณพื้นราบ CD ในหน่วยนิวตัน
1) 20                            2) 40                      3) 50                      4) 100
46. หินก้อนหนึ่งมวล 20 กิโลกรัม ไถลลงตามเนินดังรูป ถ้าก้อนหินมีอัตราเร็ว 1 เมตร/วินาที ที่จุด A และ 4 เมตร/วินาที ที่จุด B จงหางานของแรงเสียดทานที่กระทำต่อก้อนหิน ในช่วงการเคลื่อนที่จาก A ไป B
วิธีทำ                          จาก WA = WB
                               EpA + EkA =  EkB + Wf
                       mghA + ½mvA2 = ½mvB2 + Wf
   (20 x 10 x 4) + (½ x 20 x 12) = (1/2 x 20 x 42) + Wf
                                   800 + 10 = 160 + Wf
                                            Wf = 650 J
1) 320 จูล                      2) 460 จูล                3) 650 จูล                4) 810 จูล
47. วัตถุมวล 2 กิโลกรัม มีอัตราเร็ว 1 เมตร/วินาที ที่จุด A และ 6 เมตร/วินาทีที่จุด B ถ้าระยะทางโค้งจาก A ถึง B เท่ากับ 15 เมตร แรงเสียดทานเฉลี่ยที่กระทำบนกล่องเป็นเท่าไร
วิธีทำ                              จาก WA = WB
                                   EpA + EkA =  EkB + Wf
                          mghA + ½mvA2 = ½mvB2 + (f x s)
 {2 x 10 x (5-1)] + (1/2 x 2 x 12) = (1/2 x 2 x 62) + (f x 15)
                                            80+1 = 36+15f
                                           81-36 = 15f
                                                   f = 3 N
1) 3 นิวตัน                      2) 4 นิวตัน                3) 5 นิวตัน                4) 6 นิวตัน
48. วัตถุมวล 2 กิโลกรัม เคลื่อนที่บนพื้นราบลื่นด้วยอัตราเร็ว 2 เมตร/วินาที เข้าชนสปริงหดสั้นมากที่สุด 10 ซม. ค่านิจของสปริงมีค่ากี่นิวตัน/เมตร
วิธีทำ   จาก Ek = Eps
              ½mu2 = ½ks2
       (2 x 2 x 2) = k (0.1 x 0.1)
                      k = 800 N/m
1) 100                     2) 200                     3) 400                     4) 800



49. จากข้อ 48 เมื่อหดสปริง 5 ซม. วัตถุจะมีความเร็วกี่เมตร/วินาที
วิธีทำ   จาก EkA = EkB + Eps(5cm)
             ½(mu2) = ½(mv2) + ½(ks2)
                  mu2 = mv2 + ks2
                   2(4) = 2(v2) +800(5)
                        8 = 2v2 + 2000
                      v2 = 3
                       v = √3
1) 1                              2) 3                      3) 3                        4) 6
50. รถทดลองมวล 0.5 กก. วิ่งเข้าชนสปริงด้วยอัตราเร็ว 2 เมตร/วินาที โดยสปริงมีค่านิจ 200 นิวตัน/เมตร และพื้นมีแรงเสียดทานกระทำต่อรถ 15 นิวตัน จงหาว่าสปริงจะหดเข้าไปกี่เซนติเมตร
วิธีทำ   จาก Ek = Eps + Wf
           ½(mu2) = ½(ks2) + fs
     ½(0.5)2 × 2 = ½(200)s2 + 15s
                      1 = 100s2+15s
                      0 = 100s2 + 15s - 1
                                                                            0 = (20s-1)(5s+1)
                                                                            s = -0.05 m
                                                                            s = 5 cm
1) 5                              2) 10                       3) 15                       4) 20
51. จากข้อ 50 สปริงจะออกแรงกระทำต่อรถทดลองสูงสุดกี่นิวตัน
วิธีทำ   จาก F = ks 
                       = 200 x 0.05
                       = 10 N
1) 4                              2) 6                        3) 8                        4) 10
52. มวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่เข้าชนสปริง ซึ่งมีค่านิจของสปริง 400 นิวตัน/เมตร ทำให้สปริงหดสั้นเข้าไปมากที่สุด 10 เซนติเมตร ดังรูป จงหาความเร็วของมวล 1 กิโลกรัมขณะเข้าชนสปริง มีค่ากี่เมตร/วินาที
วิธีทำ   จาก Ek = Ep
              ½mv2 = ½ks2
                    v2 = 400 x 0.1 x 0.1
                    v2 = 4
                     v  = 2 m/s
1) 1                              2) 2                        3) 3                        4) 4
53. สปริงอันหนึ่งเมื่อนำมวล 500 กรัม ไปแขวนจะยืดออก 10 เซนติเมตร เมื่อนำสปริงนี้มาผูกปลายข้างหนึ่งกับมวล 2 กิโลกรัมดังรูป ที่วางยู่บนพื้นระดับ เมื่อดึงให้สปริงยืดออกไป 20 เซนติเมตรแล้วปล่อยให้มวลเคลื่อนที่ พบว่าขณะมวลเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งสมดุล วัดความเร็วได้ 0.4 เมตร/วินาที จงหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน

วิธีทำ   จาก F = ks
                 mg = ks
         0.5 x 10 = k x 0.1
                    k = 50 N/m
            จาก WA = WB
                      Ep = Ek + Wf
             ½ksAB2 = ½mvB2 + (f x s)
                 ksAB2 = mvB2 + 2µmgSAB
          50 x (0.2)2 = 2 x (0.4)2  + (2µ x 2 x 10 x 0.2 )
                          2 = 0.32 + 8µ
                     1.68 = 8µ
                          µ = 0.21
1) 0.21                          2) 0.36                    3) 0.42                    4) 0.84
54. ตาชั่งสปริงอ่านค่าได้ระหว่าง 0 ถึง 20 นิวตัน โดยจะยืด 10 เซนติเมตร ขณะอ่านได้ 20 นิวตัน ถ้านำมวลขนาด 1.2 กิโลกรัม มาชั่งขณะนั้นสปริงมีพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเท่าใด
วิธีทำ   ต้องการหาค่านิจ จาก F = ks
                                             20 = k x 0.1
                                               k = 200 N/m
             ต้องจากหาระยะทาง จาก F = ks
                                           1.2 x 10 = 200 x S
                                                    12 = 200S
                                                      S = 0.06 m
             จาก Ep = ½ks2
                          = ½ x 200 x (0.06)2
                          = 0.36 J
1) 2.5 จูล                       2) 0.18 จูล                3) 0.36 จูล               4) 0.48 จูล
55. จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงกับระยะยืดของสปริง ได้ดังรูป ถ้าสปริงยืดออก 10 เซนติเมตร พลังงาสนศักย์ยืดหยุ่นในสปริงมีค่าเท่าใด
วิธีทำ   * (1) slope จากกราฟ = F/(s x 10-2)
                                              = 10/(2 x 10-2)
                                              = 5 x 102
           * (2) slope จากกราฟ = F/(s x 10-2)
                                             = 20/(4 x 10-2)
                                             = 5 x 102
          จาก Eps = ½ks2
                        = ½ x F/s x s2
                        = ½ x (5 x 102) x (0.1)2
                        = 2.5 J
1) 2.5 จูล                       2) 5.0 จูล                 3) 10.0 จูล                4) 25.0 จูล
56. วัตถุมวล 1 กิโลกรัม วางอยู่บนทางโค้ง รัศมี 2 เมตร มีจุด A เมื่อปล่อยให้วัตถุตกลงมาตามทางโค้ง ปรากฏว่าเข้าชนสปริงดังรูป ก่อนชนวัตถุจะมีความเร็วเท่าใด ถ้าพื้นผิวสัมผัสลื่น (หน่วยเมตร/วินาที)
วิธีทำ   จาก Ep = Ek
                 mgh = ½mv2√10
                    20 = ½ x 1 x v2
                    40 = v2
                      v = 2√10
                         ≈ 6.32 m/s
1) 4.5 จูล                       2) 6.32 จูล               3) 7.50 จูล               4) 12.24 จูล
57. จากข้อ 56 ถ้าปลายทางมีสปริงติดอยู่ดังรูป ปรากฏว่าเมื่อวัตถุชนสปริง สปริงจะหดสั้นที่สุด 5 ซม. จงหาค่านิจของสปริงในหน่วยนิวตัน/เมตร
วิธีทำ               จาก Ek = Eps
                           ½mv2 = ½ks2
(1 x 40) / (0.05 x 0.05) = k
                                   k = 16,000 N/s
1) 800                           2) 1,600                  3) 8,000                  4) 16,000

12 ความคิดเห็น:

  1. ข้อ 47 ทำไมต้อง +EpของSA

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณค่ะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุนครับเป้นประโยชน์มากเลยครับ

    ตอบลบ
  4. มวล5kg วิ่งด้วยความเร็ว20m/s วิ่งเข้าไปในพื้นที่ผิวขรุขระที่มีแรงเสียดทาน25Nวัตถุจะเคลื่อนที่เข้าไปเป็นระยะทางเท่าไหร่จึงจะหยุด ช่วยผมทีครับ

    ตอบลบ
  5. ถ้าเกิด ค่านิจสปิง หน่วยN/mm เเล้วโจทถามหา ระยะหดของสปืงในหน่วย mm ต้องเปลี่ยนอะไรไหมคับ

    ตอบลบ
  6. ข้อสอบของมหาวิทยาลัยอะไรคะ

    ตอบลบ
  7. นักเรียนดันรถเข็นด้วยแรง50นิวตันทำไห้รถเข็นเคลือนที่ได้ระยะ10เตรงานที่นักเรียนทำเป็นเท่าไร

    ตอบลบ
  8. ขว้างวัตถุมวล 1.0 กิโลกรัมจากดาดฟ้าตึกสูงจากพื้นดิน 15 เมตรลงมาในแนวดิ่งด้วยความเร็ว 10.0 เมตร / วินาทีเมื่อวัตถุอยู่สูงจากพื้นดิน 20 เมตรวัตถุจะมีพลังงานกลรวมเท่าไรเทียบกับพื้นดิน (ไม่คิดแรงต้านอากาศ)

    ตอบลบ
  9. คุณครูโรงเรียนหนูเอาไปออกสอบทุกข้อเลยค่ะ;-;

    ตอบลบ
  10. เป็นประโยชน์มากกกกกกกกกกก ก.ไก่ ล้านตัว ค่ะ

    ตอบลบ